|
|
H.265 คืออะไร |
H.265 เป็นการบีบอัดวีดีโอรูปแบบใหม่ ที่ต่อเนื่องมาจาก H.264 ถูกพัฒนาขึ้นโดย ITU-T Video Coding Experts
Group (VCEG)
22 ตุลาคม 2012 Ericsson ประกาศตัวว่าเป็นคนแรกของโลกที่เปิดตัวการเข้ารหัสแบบ H.265 ภายใต้ชื่อ High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยหน่วยงาน ITU-T เป็นคนรับรองมาตรฐาน |
H.265 กล่าวว่า สามารถบีบอัดข้อมูลได้เป็นสองเท่าของ H.264 ด้วยระดับคุณภาพของภาพเท่ากัน สามารถรองรับคุณภาพของภาพหลากหลายที่ Bit Rate เท่าๆกัน และสามารถรองรับ 8K UHD ความละเอียด 8192 x 4320 |
H.265 ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบีบอัดมากกว่า H.264 โดย Bitrate ลงไปครึ่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการทำงานของ applicationด้วย H.265 จะลดความซับซ้อนการคำนวณการเข้ารหัสลง ทำให้บีบอัดได้ดีขึ้น ขณะที่ H.264 ส่งข้อมูลระดับ SD ที่ 1Mbps แต่ H.265 สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 720P หรือ (1280 x 720) และ HD ที่ 1-2Mbps |
บริษัทใหญ่ฝั่ง IT เช่น Qualcomm Broadcom และ Huawei ได้ออก Products ที่เป็น H.265 ซึ่งหวังว่าจะมาแทนที่ H.264 และจะเป็นมาตรฐานระดับสากลต่อไป |
H.265 ทำไมถึงเหนือกว่า H.264? |
การเข้ารหัสของ H.265/HEVC จะมีลักษณะคล้ายๆ กันกับ H.264/AVC ที่มี inter-/ intra-picture prediction, transform coding, quantization, deblocking filter, and entropy coding แต่ H.265/HEVC จะประกอบด้วย หน่วย โค๊ดดิ่ง coding units (CUs), หน่วยการคาดการณ์ predict units (PUs) และหน่วยการเปลี่ยนถ่าย transform units (TUs). |
เปรียบเทียบระหว่าง H.264 กับ H.265 มีกระบวนการที่แตกต่างกันในการแบบอัด ที่จำนวน Block H.264 จะใช้อยู่ที่ 16x16 pixel ขณะที่ H.265 จะสามารถเลือกจาก 8x8, 16x16 ถึง 64x64 pixels. ส่วนที่วิเคราะห์ว่าอะไรที่จะแบ่ง CUs ออกเป็นหลายขนาดนั้นตัวอย่างเช่น ตัวของรถในที่จอดรถ การเข้ารหัสจะใช้ Block ที่ใหญ่ในการเข้ารหัสพื้นหลัง (Background) ที่จะบรรจุข้อมูลจำนวนน้อย |
H.265 จะใช้โหมดการกำหนดทาง 33 directional modes สำหรับการคาดคะเน (intra-prediction), เปรียบเทียบกับ H.264 จะใช้โหมดการกำหนดทิศทางเพียง 8 directional modes สำหรับการคาดคะเน intra-prediction ที่คุณภาพภาพเหมือนกัน H.265 จะบีบอัดได้ถึง 39 to 44% เทียบกับH.264. ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกัน |
มาตรฐานการบีบอัดวิดีโอต่าง ๆ ย่อมมีเป้าหมายเพื่อให้มีอัตราการบีบอัดข้อมูลสูงๆ นั่นคือใช้อัตราบิตน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาคุณภาพระดับเดิมไว้ได้ โดยวิธีการวัดประสิทธิภาพการเข้ารหัสของแต่ละมาตรฐานนั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกคือใช้ตัวชี้วัด เช่น peak signal-to-noise ratio (PSNR) วิธีที่สองคือประเมินจากคุณภาพของวิดีโอซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าเนื่องจากเป็นสิ่งผู้ชมวิดีโอสัมผัสได้จริง |
เปรียบเทียบมาตรฐานการเข้ารหัสวีดีโอ โดยมีค่า PSNR เท่ากัน |
มาตรฐานการเข้ารหัส |
อัตราบิตลดลงโดยเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับ |
H.264/MPEG-4 AVC HP |
MPEG-4 ASP |
H.263 HLP |
H.262/MPEG-2 MP |
HEVC MP |
35.4% |
63.7% |
65.1% |
70.8% |
H.264/MPEG-4 AVC HP |
- |
44.5% |
46.6% |
55.4% |
MPEG-4 ASP |
- |
- |
3.9% |
19.7% |
H.263 HLP |
- |
- |
- |
16.2% |
|
|
|
Info Graphic แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง H.264 และ H.265
|
|
อนาคตของ H.265 |
งาน CPSE ในปี 2013 บริษัท Hisilicon และ Grain Media ได้เริ่มต้นเปิดตัว การพัฒนา H.265 ที่สร้างการยอมรับและความประทับใจให้กับผู้เข้าชมที่มองเห็นความเป็นไปได้มาก และในปีนี้เอง ปี 2014 บริษัท Hisilicon ได้เปิดตัว Chipset H.265 Code Name Hi3516A ซึ่งรองรับการแบบอัดอย่างสมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตามความท้าทายยังคงอยู่ที่ความซับซ้อนของการนำ H.264 มาผนวกเข้าไปกับอุปกรณ์ และเรื่องราคากับคุณสมบัติของสินค้าที่ไม่ค่อยจะตอบโจทย์เท่าไหร่แต่อีกไม่นานก็จะเข้ามาแทนที่ H.264 ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี และจะถูกใช้อย่างแพร่หลายต่อไป |
ที่มา |
|
|
|
เรียบเรียงแปลและดัดแปลง โดย Ton Zynek |
วันที่ลงบทความ 3 ธันวาคม 2557 |
|
|
|